บทความนี้เป็นบทความที่เขียนโต้ตอบกับพี่เอ็มแอนด์เดอะแก๊งค์ เริ่มจากความเห็นเรื่องเวบหมิ่น การเมือง ศาสนา ปรัชญา จนมาถึงเรื่องโพสต์โมเดิร์น บทนี้เขียนยาวและออกความเห็นไว้ค่อนข้างชัดเจน จึงอยากจะรวมเก็บไว้ในที่นี่
สัมนาเวบหมิ่นคลับ ฉบับที่ 49 (ระวังนะ ยาวมาก)
พี่เอ็มเกริ่นไว้ซะน่ากลัวเชียว บอกให้เปิดประเด็นเรื่องโพสต์โมเดิร์นกับสิ่งแวดล้อม อันนี้ controversial และพาราดอกซ์ม๊ากกกก เพราะพัวพันกันหลายกรณี ประหวั่นอยู่ว่าตูจะไปรอดไม๊เนี่ย แต่ไหนๆก็ไหนๆ ลองอ่านดูแล้วกัน
1. โพสต์โมเดิร์นกับการวิพากษ์วิจารณ์
อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าหากไม่ชำนาญในเรื่องนี้ ก็อย่าไปวิจารณ์และขอให้ข้ามๆไปเสีย เนื่องด้วยเพราะไม่ได้รู้จักสำนักทั้งหมดจึงไม่มีข้อมูลพอที่จะออกความเห็น
หนูเภาขอตั้งคำถามว่า ในเมื่อเราเป็นผู้ใช้ชีวิตคนหนึี่งในสังคม และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแนวคิดดังกล่าว เราควรจะหุบปากและปล่อยให้กูรูผู้ศีกษาเหล่านั้นเป็นผู้ให้ความหมายแต่ฝ่ายเดียวหรือไม่? ขอถามตรงจุดนี้ เพราะเห็นว่าตำราหรือสิ่งที่ครูอาจารย์สอน เป็นส่ิงที่บอกต่อๆกันมา การศีกษาที่แท้ควรจะเป็นการตั้งคำถามกลับ เพราะการรับข้อมูลมาเฉยๆ แม้จะมีจำนวนมากมายเพียงใด ก็ไม่ได้เป็นการศีกษาที่นำไปสู่ความสว่างแต่อย่างใด
ในความคิดของหนูเภา มหาวิทยาลัยเป็นเป็นที่สร้างความรู้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่ๆอันตรายอย่างมากที่สุด หากการเล่าเรียนคือการสร้างความจริงบนรากฐานของฟองสบู่ทางความคิด การศีกษาก็คือเสียเวลาเปล่า
คณะปรัชญาเป็นคณะหนึ่งที่เป็นศูนย์รวมไอเดียต่างๆ และในขณะเดียวกัน (อันนี้พาราดอกซ์อย่างที่สุด) ก็เป็นศูนย์รวมฟองสบู่ทางความคิดอย่างมากที่สุดด้วย ฉะนั้นผู้ศีกษาจักต้องพึงระวังอย่างมาก มิให้ไอเดียต่างๆที่ศีกษาเข้ามาเป็นตัวทำลาย common sense ของตน
เคยได้ยินคำกล่าวอันนึง เขาพูดได้หงายหลังดี จะเอามา apply กับเรื่องโพสต์โมเดิร์นนี้ก็ได้
Marxists study marxism. Anti-marxisms understand it.
2. ครอบครัวโพสต์โมเดิร์น
เวลามองโพสต์โมเดิร์น หนูเห็นภาพที่ใหญ่กว่าสำนักทางฝรั่งเศสที่พี่เจี๊ยบกล่าวถึง หนูมองเห็นไปถึงคาร์ล มาร์กซ์, นิตเช่ เราปฏิเสธไม่ได้นะ ว่าเวลาค้นคว้าเรื่องโพสต์เนี่ย ชื่อพวกนี้มันผลุบโผล่ขี้นมากันสลอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันมีอิทธิพลและต่อยอดกันและกัน แม้ในรายละเอียดในแต่ละแนวสำนักจะต่างกัน แต่ทั้งหมด มีความสุดโต่งไปในทางเดียวกัน คือ ปฏิเสธองค์รวมของความเป็นปัจเจก
ย้อนกลับไปที่นิยามความเป็นปัจเจก ที่เคยกล่าวไปแล้วหลายครั้ง คือ ความรับผิดชอบชีวิตของปัจเจก (ชีวิตกู) และในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพความเป็นปัจเจกอื่นด้วย (สังคม)
จะเห็นได้ว่าองค์รวมของความเป็นปัจเจกประกอบไปด้วย (1) บุคคล (2) ความสัมพันธ์ของบุคคลกับสังคม
ทั้งสองสิ่งนี้ต้องไปด้วยกันจึงจะครบองค์ หากจะมองเน้นแต่ตัวบุคคล บุคคลจะกลายเป็นอัตตา หากเน้นแต่สังคม บุุคคลจะกลายเป็นสมาชิกของกองทัพ (totalitarian แบบสังคมมด)
นักกระแสโพสต์โมเดิร์นตัวยงๆอย่าง นิตเช่ เน้นแต่บุคคลและความจริงของแต่ละบุคคลที่ตัดขาดจากกันและกัน เหมือนชีวิตคนคือการตัดแปะ จะเอาไปวางตรงไหนก็ได้ (คนจะเอาหมาแมวเป็นเมียก็เป็นเรื่องของเขา)
นักกระแสสังคมนิยมอย่าง มาร์กซ์ เน้นแต่สังคมและความสำคัญของส่วนรวมซึ่งละทิ้งความจริงส่วนบุคคลไป (คนอยากเก่งอยากรวยเป็นคนเห็นแก่ตัว)
แม้จะเน้นจุดที่อยู่กันคนละทิศและมีดีเทลของทฤษฎีที่ต่างกัน แต่ทั้งสองนี้ มันนำไปสู่จุดหมายที่ตรงกันอย่าง ironic ที่สุด คือการทำลายโครงสร้างของชีวิตที่มีมาแต่เดิม ทำลายศีลธรรม รากเหง้า ทำลายความสำคัญของแรงบันดาลใจ และความพิเศษของชีวิตแต่ละผู้ ซึ่งสัมพันธ์กันกับชีวิตอื่นๆ
นี่คือเหตุผลหลัก ที่หนูมองว่าพวกนี้มาจากครอบครัวเดียวกัน ฉะนั้นจึงได้จับโยนลงถังเดียวกันอย่างไม่ไยดีฉะนี้
3. โพสต์โมเดิร์นกับความถูกต้องแบบการเมือง (political correctness)
คำว่า political correctness นี้ ไม่รู้อยู่ทางเมืองไทยได้ยินกันบ้างหรือเปล่า หนูอยู่ทางนี้ได้รับ effect จนเบื่อและอึดอัดมาก
Political correctness คือสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ Free speech
Political correctness เป็นเครื่องมือที่ใช้บังคับให้คนเซ็นเซอร์ตัวเอง
วิธีการคือ เปลี่ยน perception ของคน ด้วยการเปลี่ยนความชัดเจนทางความหมายของภาษา ให้คนมองเห็นสิ่งด้อย เป็นสิ่งธรรมดา หรือจนกระทั่งเปลี่ยนให้กลายเป็นสิ่งเด่น รวมไปถึงทำให้สิ่งเด่นกลายไปสิ่งปกติ จนกระทั่งสิ่งด้อย ซึ่งผิดจากความจริงที่เราเคยยอมรับกัน สิ่งที่เคยคิดว่าถูกต้องกลับกลายว่าเป็นเรื่องเสแสร้ง สิ่งที่เคยผิดธรรมนองคลองธรรมกลับกลายเป็นเรื่องปกติ
เมื่อความชัดเจนถูกปกปิดด้วยความคลุมเคลือ การวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นไปได้ยาก เพราะเมื่อการออกความเห็นแบบตรงๆกลายเป็นเรื่องสองแง่สองง่าม ดังนั้นผู้วิจารณ์ต้องคอยเซ็นเซอร์ตัวเอง เพราะกลัว thought police ที่จะมาจ้องคอยจับผิด (เหมือนกฏหมายหมิ่นยังไงยังงั้น)
Political correctness นำวิธีคิดแบบงงงวยของ postmodern มาเป็นเครื่องป่วน โดยมีท่าทีของเผด็จการโค่นอำนาจแบบ marxism และ leninism
1. แบบ postmodern ถือว่าความจริงเป็นเรื่องของใครของมัน สิ่งที่เราพูดกันเป็นแค่ความเห็นและการตีความ ความจริงที่แท้ไม่มีอยู่ ดังนั้นจึงจับเอาว่าการสื่อสารคือเกมภาษา การใช้ภาษาคือเกมการเมือง ฉะนั้นจึงมุ่งเป้าหมายไปที่ภาษาเป็นหลัก
2. แบบ marx และ lenin คือการตั้งใจล้มอำนาจของคนหรือส่ิงที่ยอมรับกันว่าเป็นอำนาจเดิมของสังคม แล้วต้องเปลี่ยนให้อยู่ในมือของผู้ด้อยแทน เช่น บอกกว่า ผู้หญิงจะครองโลกแทนชาย (เฟมินิสต์), คนจนเป็นเจ้าของประเทศ, คนผิวขาวเป็นผู้เอารัดเอาเปรียบที่ต้องถูกทำให้ล้มลง, ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาสับปรับ, etc.
สิ่งที่ทำให้ postmodern ผสมร่วมกับ lenin และ marx ได้อย่างกลมกลืนเพราะเห็นอย่างเดียวกันในข้อที่ว่า การได้เปรียบทางการเมืองคือต้องคุมการใช้ภาษาให้อยู่ เพราะภาษานำไปสู่ความหมาย การยอมรับ และอำนาจในท้ายสุด
Political correctness คือเครื่องมือสำคัญของการได้มาซึ่งอำนาจที่ว่า เรื่องนี้สำคัญที่ว่าอำนาจที่จะได้มานี้ ไม่ได้มากจากผลพวงของงานที่ทำหรือจากคุณงามความดีของตน แต่มาจากการขู่บังคับให้คนอื่นยอมรับ(และเปลี่ยนมุมมองในเรื่องความด้อย) ตอนนี้กำลังระบาดมากในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะ อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย ทำให้สังคมสับสนมาก
ลองพิจารณาภาษาแบบ political correct ดูกัน
--------------------------------------------------------
ภาษาเดิม | ภาษาแบบ political correct
--------------------------------------------------------
handicapped | physically challenged (+)
prostitute | sex care provider (+)
homeless | outdoor urban dwellers (+)
white people | melanin-impoverished (-)
black people | people of color (+)
poor | economically marginalized (+)
prisoner | client of the correctional system (+)
terrorist | oversea contingency (+)
terrorism | man-made disaster (+)
history | herstory (-)
อื่นๆอีกมากมาย
--------------------------------------------------------
ขวาสุดของตารางใส่เครื่องหมาย + และ - ไว้ให้ดู เป็นข้อสังเกตุ
อยากจะชี้ข้อสังเกตให้ดูว่า เครื่องหมายบวก จะไปตกอยู่ที่ใครก็ตามที่สังคมเดิมดูว่าด้อยกว่าในแง่อำนาจ ด้วยการมองแบบ political correct ความด้อยจะดูดีขึ้นมา ส่วนที่เป็นเครื่องหมายลบ คืออำนาจเดิมที่ถูก political correct ปรับเปลี่ยนให้ตกอยู่ในลักษณะด้อย อันนี้เป็นการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างทางอำนาจในวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างว่าการแก้แค้นเชิงโครงสร้าง
คำศัพท์และความคิดแบบนี้ ถูกยัดเยียดเข้าไปในตำราเรียน นักเรียนนักศีกษากำลังถูกล้างสมองกันถ้วนหน้า และอาจารย์เพี้ยนก็มีมากมายนับไม่ถ้วนที่ในมหาวิทยาลัย แม้กระทั่งมหาวิทยาลัยดังๆ แบบฮาร์วาร์ด โคลัมเบีย เยล ก็หนีไม่พ้น
4. โพสต์โมเดิร์นกับธรรมชาติ (deep ecology)
บอกแล้วจะเชื่อไหมว่ากลุ่มกรีนพีซคือความพยายามของระบอบคอมมิวนิสต์ที่ต้องการล้มล้างความเจริญทางเศรษฐกิจของโลกเสรี?
นี่ต้องมีคนโวยว่าคิดแบบอคติ คิดแต่ด้านลบ คิดมากไปป่าววววว...
ไม่ได้คิดมากพี่ ลองดูข้อพิจารณาดังนี้
marxism เชื่อว่าสังคมจะเจริญได้ เราต้องควบคุมมนุษย์ไม่ให้กระหายจนเกินขีดจำกัด
ทำไม๊... ทำไม อันที่หนึ่ง เรื่องการควบคุมความกระหายของมนุษย์มันมาตรงกับสิ่งที่นักสิ่งแวดล้อมพูด?
ทำไม๊... ทำไม อันที่สอง นักสิ่งแวดล้อมมาเริ่มเกิดกันช่วงปี '60-70 พอดีกับตอนที่คอมมิวนิสต์กำลังขยายอำนาจ?
ทำไม๊... ทำไม อันที่สาม วิธีการของกรีนพีซคือการทำให้คนรู้สีกผิดเมื่อแตะต้องสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมชาติ" เหมือนกับที่คอมมิวนิสต์ทำให้พวกที่อยู่ในโลกเสรีรู้สีกผิดที่คิดอยากเก่งอยากรวย?
ทำไม๊... ทำไม อันที่สี่ กรีนพีซต้องการให้ประเทศทุนนิยมที่ร่ำรวยต้องเสียเงินมากมายเพื่อรับผิดชอบ global warming? แต่ประเทศยากจนไม่ต้องรับผิดชอบ?
ทำไม๊... ทำไม อันที่ห้า วัน earth day จึงบังเอิ๊ญ บังเอิญ ตรงกับวันฉลองวันเกิดของเลนิน?
ทำไม๊... ทำไม อันที่หก กรีนพีซถึงต้องการให้รัฐเป็นหนี้เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุน green energy แบบหน้ามืดตามัว โดยไม่สนใจว่าเศรษฐกิจอเมริกาจะล่มไปกว่านี้หรือไม่?
และสุดท้าย ทำไม๊... ทำไม หัวหน้าผู้สนับสนุนกรีนพีซทั้งหลายถีงมีรถใหญ่โตกินน้ำมันมาก มีเครื่องบินส่วนตัวพ่นแก๊ส CO2 ในขณะที่ออกมาขู่ชาวบ้านเรื่อง global warming?
คำตอบในทฤษฎีของหนูคือ เพราะคอมมิวนิสต์ต้องการเห็นการล่มสลายของทุนนิยมเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสังคมนิยมคือทางออก และหัวหน้าเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ก็เหมือนๆกัน คือกระหายอำนาจ ประชาชนต้องเสียสละ แต่กูผู้นำไม่ต้อง
แล้วโพสต์โมเดิร์นมาเกี่ยวอะไร? หนูว่าเพราะกระแสคอมมิวนิสต์มันถูกจริตโพสต์โมเดิร์นตรงที่เป้าหมายของการรื้อถอน ฉะนั้น สองกระแสจึงเจริญเติบโตในกันและกัน และร่วมทำลายโลกเสรีทุนนิยมด้วยกัน (สำหรับโพสต์โมเดิร์น สุดท้ายแล้ว ถ้าคนไม่เกี่ยวข้องกัน ก็ไม่มีเศรษฐกิจ จะกินอยู่ยังไง ก็ต้องมีรัฐมาคอยอุ้ม ฉะนั้น welfare state คือคำตอบ-ตัวอย่าง ดูที่เกาหลีเหนือ)
สิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่โพสต์และคอมมิวนิสต์ใช้เป็นจุดมุ่งหมายเพื่อล้มล้างระบอบทุนนิยมของโลกเสรี (มาแบบแทรกซึม) อันจะเห็นได้จากความวิปริตผิดมนุษย์ของวิธีการดังเช่น
- นักสิ่งแวดล้อมโพสต์โมเดิร์นรักธรรมชาติมาก พูดง่ายๆว่ารักมากจนคิดว่าการเกิดมาของมนุษย์นั้นเป็นการรบกวนธรรมชาติ ฉะนั้นมนุษย์ควรจะกลับไปใช้ชีวิตให้ใกล้ธรรมชาติและรบกวนน้อยที่สุด คำถามกลับคือ ในเมื่อธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมา ทำไมจึงถือว่ามนุษย์ถึงเป็นส่วนเกินของธรรมชาติ? หรือธรรมชาติตัดสินใจผิดที่สร้างมนุษย์ขึ้นมา? (ใครคิดแบบนี้นี่น่าสงสารมาก)
- ความเขียวถูกยกให้เป็นศาสนาที่แตะต้องไม่ได้ แผนผังปิรามิดห่วงโซ่อาหารถูกวางให้กลับหัว เพื่อให้พืชอยู่สูงสุด ประชากรมนุษย์ยิ่งน้อยลงยิ่งเป็นผลดีต่อธรรมชาติมาก เพราะความเจริญของมนุษย์เป็นตัวบ่อนทำลายสิ่งแวดล้อม นั่นหมายถึงว่าการลบล้างมนุษยชาติเป็นหนทางจะนำธรรมชาติกลับไปสู่ความบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง
- นักสิ่งแวดล้อมบางคนออกมาร้องให้เก็บภาษี CO2 โดยละทิ้งความจริงที่ว่ามนุษย์และสัตว์หายใจออกเป็น CO2 และ CO2 เป็นประโยชน์กับพืชในการหายใจ
- Global warming เป็นการขู่ให้คนกลัวแบบได้ผลมาก อัล กอร์ สร้างหนัง Inconvenient Truth ออกมาปลุกระดมให้คนสยอง และควักเงินบริจาคโดยไม่ยั้งคิด เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับกลุ่มกรีนพีซ
ความจริงเรื่อง global warming นั้นมีข้อมูลวิทยาศาสตร์หลายกระแส บ้างก็ว่าโลกร้อนมานานแล้ว และร้อนแบบค่อยเป็นค่อยไป พืชและสิ่งมีชีวิตมีเวลาปรับตัว บ้างก็ว่าความร้อนความเย็นนี้มันมาเป็นไซเคิล และช่วงนี้เราอยู่ในช่วงเย็น หรือ global cooling ยิ่งกว่านั้นข้อมูลบางด้านบอกว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ได้มี CO2 เป็นตัวนำ แต่กลับกัน อุณหภูมิเพิ่มทำให้ CO2 สูงตาม (แปลว่าเพิ่ม CO2 ไม่จำเป็นว่าอุณหภูมิต้องสูงตาม —ไม่ตรงกับที่อัล กอร์ เสนอ)
แต่จะเป็นแนวไหนก็แล้วแต่ ข้อเคลมที่ว่ามนุษย์ทำลายโลกเพราะผลิต CO2 นั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ และมนุษย์จะพาโลกกลับสู่สภาพดั้งเดิมก็ยิ่งเป็นเรื่องฝันเฟื่อง (แปลว่าต้องทำลายตีกรามบ้านช่องแล้วกลับไปอยู่ถ้ำ) ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าที่คนจะมาบังคับความเป็นไปของดินฟ้าอากาศได้ หากมันอยากจะร้อนจนแตกระเบิด เราก็ทำอะไรไม่ได้
ฉะนั้น การเก็บภาษีคนมากๆ (ทำให้คนยากจนลง) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความร้อนของโลก มันต่างอะไรกับบังคับบริจาคเงินเพื่อบูชายัญเทพเจ้า?
สรุป ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะให้เห็นความสัมพันธ์ของกระแสโลกที่มีในขณะนี้ กระแสโพสต์โมเดิร์น กระแสสังคมนิยม และกระแสกรีน มันมาพร้อมๆกัน เหตุไม่ใช่เพราะความบังเอิญ แต่เป็นความพยายามที่มากด้วยรูปแบบของแนวคิดที่ขาดความสมบูรณ์ของความเข้าใจในเรื่องปัจเจก ลู่ทาง และแรงบันดาลใจของปัจเจก
การใดที่ขาดความสมบูรณ์ เพราะปฏิเสธความจริง สุดท้ายแล้ว การนั้นมันจะกลับมาทำลายตัวมันเอง.
Monday, May 25, 2009
Subscribe to:
Posts (Atom)